มารู้จักแต่ละตำแหน่งของเกียร์ออโต้กันเถอะ
26 Jan 2019ถ้าพูดถึงเกียร์ของรถยนต์แน่นอนว่าในสมัยนี้เกียร์ออโต้ได้รับความนิยมในระดับหนึ่งสำหรับคนใช้รถในเมือง ถ้าถ้าเป็นเมื่อก่อนหลายปีก่อนก็คงเป็นเกียร์เมนนวลที่จะมีเกียร์ 1 2 3 4 5 R N แต่แน่นอนว่าวันนี้เราจะพูดถึงเกียร์ออโต้ที่หลายคนรู้จักกันดี และรู้จักกันดีแค่ไหนเรามาดูกัน…
ซึ้งเกียร์ AUTO หลักๆที่มีในรถปัจจุบัน คือ P N R D ( L ในบางรุ่น)
ตำแหน่ง P ใช้ สำหรับจอดรถ แบบล็อคล้อไม่ต้องการให้รถเคลื่อน หรือ จอดในบริเวณที่ลาดชัน เมื่อเราเปลี่ยนเกียร์มาอยู่ที่ตำแหน่ง R แล้ว รถของเราก็จะถอยหลังได้เองอย่างช้าๆ โดยที่เรานั้นไม่ต้องเหยียบคันเร่งเลย โดยขอแนะนำว่า ไม่ควรเหยียบคันเร่งในขณะที่ถอยหลัง เนื่องจากจะทำให้รถถอยอย่างรวดเร็ว จนบางครั้งอาจจะเกิดอุบัติเหตุชนคนได้ ดังนั้นเราจึงควรใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมากในการถอยรถ ทางที่ดีควรจะวางเท้าไว้ที่แป้นเบรกตลอดเวลา เพื่อเราจะได้เหยียบเบรกได้ทันทีเมื่อต้องการหยุดรถ
ตำแหน่ง N (Neutral) คือ เกียร์ว่าง ไว้ใช้จอดรถชั่วคราว เราจะใช้เกียร์นี้ก็ต่อเมื่อต้องการจอดรถไว้ชั่วคราว เช่น จอดรถติดไฟแดง เป็นต้น เพราะการที่เกียร์อยู่ในตำแหน่ง N นี้ รถเราก็จะยังสามารถถูกเลื่อนหรือเข็นได้ ซึ่งเหมาะจะใช้ในกรณีการจอดรถในห้างเป็นอย่างมาก เพราะกรณีที่เราจอดรถในห้างและรถเรานั้นจอดรถขวางหน้ารถคันอื่นๆ อยู่ การที่เราใส่เกียร์ N ไว้ ผู้อื่นจะยังพอขยับรถเราไม่ให้ขวางทางออกของรถเขาได้ และข้อสำคัญในกรณีนี้ก็คืออย่าลืมปลดเบรกมือออกด้วยนะ
ตำแหน่ง D หรือถ้ามี (D4 คือ เกียร์เดินหน้า 4 Speed แล้วแต่รุ่นรถว่ามีกี่สปีด หรือ ตัว + - ที่อยู่ในตำแหน่งใกล้ๆกับ D ใช้ในการขับขี่ปกติหรือต้องการใช้ความเร็วในการแซงหรือทางลาดชัน) เมื่อเราทำการเปลี่ยนเกียร์มาที่ D แล้ว รถของเรานั้นก็จะเริ่มออกตัวแล่นไปเองอย่างช้าๆ และเมื่อเราเริ่มเหยียบคันเร่ง รถจะเริ่มเปลี่ยนเกียร์ให้เองโดยอัตโนมัติ เริ่มตั้งแต่เกียร์ 1 ไป จนถึงเกียร์ 4 ซึ่งเกียร์ 4 โดยทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับความเร็วของรถด้วย ซึ่งเกียร์ D นี้ถือว่าใช้บ่อยที่สุดแล้ว เพราะว่าใช้วิ่งบนทางราบนั่นเอง
ตำแหน่ง L (Low)คือ ซึ่งจะใช้ในการขับขึ้น-ลงเนินที่สูงชันมากๆ หากว่าเราต้องการที่จะขับรถขึ้น-ลงเนินหรือภูเขาที่มีความสูงชันมากๆ ก็ควรที่จะใช้เกียร์ L โดยเฉพาะในตอนลงเขา เกียร์ L จะเป็นการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก เพื่อลดการเหยียบเบรกของเรา ทำให้เราสามารถยืดอายุผ้าเบรกของเราไปได้
ขอบคุณข้อมูล https://www.moneyguru.co.th/blog