อัปเดต พ.ร.บ.รถยนต์ 2563 ปรับเพิ่มความคุ้มครองผู้ประสบภัย
12 Sep 2020อัปเดต พ.ร.บ.รถยนต์ 2563 ปรับเพิ่มความคุ้มครองผู้ประสบภัย
ได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
หรือ คปภ. กำหนดหลักเกณฑ์การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยได้ปรับเพิ่มความคุ้มครอง พ.ร.บ. รถยนต์
หรือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ โดยไม่ขึ้นค่าเบี้ยประกันภัย และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 เป็นต้นไป มีรายละเอียดดังนี้
ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง...
หลายคนมักจะสงสัยว่าการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ใช้อะไรบ้าง ง่ายเพียงนิดเดียว!! สำหรับต่อ พ.ร.บ.รถยนต์เราจะต้องทำควบคู่ไปพร้อมกับการต่อทะเบียนรถยนต์ ซึ่งพ.ร.บ.รถยนต์จะไม่สามารถซื้อย้อนหลังได้นะ แต่สามารถซื้อความคุ้มครองล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน แล้วเอกสารที่จะต้องเตรียมเพื่อต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ จะมีอะไรกันบ้างนะ เรามาดูกันเลยดีกว่า !!
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มจริง
เพียงเอกสารไม่กี่อย่างเท่านี้ เราก็สามารถนำไปต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ได้เลยทันที สามารถไปต่อได้ที่กรมการขนส่งแต่ละจังหวัด หรือไม่สะดวกเดินทางก็ติดต่อได้กับบริษัทประกันภัย จะช่วยให้ขั้นตอนเป็นไปอย่างง่ายและรวดเร็วขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายการทำ พ.ร.บ.รถยนต์ แต่ละบริษัทก็จะมีเรทราคาต่างกัน นอกนั้นความคุ้มครองก็จะเหมือนกันตามกฎหมายทุกบริษัท
พ.ร.บ.รถยนต์ คือการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือเรียกกันว่า
Compulsory Third Party Insurance เป็นกฎหมายภาคบังคับให้รถยนต์ทุกคันทำ
โดยจะเน้นความคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถยนต์กรณีบาดเจ็บและเสียชีวิต การทำพ.ร.บ.รถยนต์ สามารถจดทะเบียนได้กับกรมการขนส่งทางบก เพื่อมีไว้เป็นหลักประกันชีวิตให้กับคนในรถยนต์นั่นเอง
พ.ร.บ.รถยนต์ มีความสำคัญอย่างไรบ้าง...
สาเหตุทุก ๆ ปีที่เราต้องต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ผู้ใช้รถใช้ถนนจะได้รับสิทธิความคุ้มครองเงินค่ารักษาพยาบาลทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ช่วยเเบ่งเบาภาระเรื่องค่าใช้จ่าย ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่กระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน แต่จะดูแลเฉพาะค่ารักษาพยาบาลเท่านั้นนะครับ หากต้องการให้คุ้มครองรถยนต์ของเราด้วย ก็จะต้องทำประกันภัยรถยนต์เพิ่มเอาเอง
เรื่องของวงเงินคุ้มครองความเสียหายต่อชีวิตเบื้องต้น เราจะได้รับความคุ้มครองทันที โดยไม่ต้องรอผลพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูก เพราะประกันภัยภาคบังคับสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง เราจะขออธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ ต่อไปนี้นะ
- ความคุ้มครองทันที โดยไม่ต้องรอว่าใครผิดใครถูก ค่ารักษาพยาบาลรวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท
- เงินค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ ตามค่าใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
- กรณีเกิดเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร จ่ายไม่เกิน 35,000 บาท/คน
- กรณีผู้ประสบภัยต้องใช้กะโหลกศีรษะเทียม ไม่เกิน 35,000 บาท/คน
ความคุ้มครองเมื่อเป็นฝ่ายถูก เราจะได้เงินค่ารักษาพยาบาลเพิ่มอีก ทั้งหมดไม่เกิน 504,000 บาท
- ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
- เมื่อสูญเสียอวัยวะ (สูญเสียนิ้วมือ นิ้วเท้า หนึ่งข้อนิ้วขึ้นไป) จำนวน 200,000 บาท/คน
- เมื่อสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน รวมถึงกะโหลกศีรษะเทียม จำนวน 250,000 บาท/คน
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน รวมกัน จำนวน 500,000 บาท/คน
- เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 300,000 บาท/คน
- เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ไม่เกิน 500,000 บาท/คน
- ชดเชยรายวัน 200 บาท รวมไม่เกิน 20 วัน กรณีเข้าพักรักษาพยาบาล (ผู้ป่วยใน) สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท/คน
ถ้าไม่ทำ พ.ร.บ.รถยนต์ โดนค่าปรับเท่าไหร่นะ ?
หากเราไม่ทำ พ.ร.บ.รถยนต์ ก็ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายอยู่แล้วครับ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าแสดงเครื่องหมาย พ.ร.บ. ไม่ชัดเจนล่ะก็มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือรถยนต์คันนั้นลืมสนิทว่าต้องต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ และโชคร้ายตำรวจเข้ามาเห็น จะเสียค่าปรับจำนวน 400-1,000 บาท
ขอขอบคุณข้อมูลที่ดีและเป็นประโยชน์ จาก...
https://www.facebook.com/roddeefreedown
https://www.frank.co.th